วันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2551
โครงการในพระราชดำริ
โครงการพระราชดำริโครงการพระราชดำริและพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับการประมง
1) โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักดีว่าประชาชน ในชนบทยังขาดสารอาหารโปรตีนซึ่งจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย และสัตว์น้ำจำพวกปลาน้ำจืดเป็นแหล่งอาหารราคาถูกที่ให้สารอาหารโปรตีน ประกอบกับสามารถหาได้ในท้องถิ่นชนบททั่วประเทศ จึงทำให้ปลาเป็นอาหารที่สำคัญ และเป็นอาหารหลักของราษฎรในชนบท แต่การที่จำนวนประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ประกอบกับแหล่งน้ำธรรมชาติมีความเสื่อมโทรม ทำให้ปริมาณการผลิตปลาจากแหล่งน้ำ เหล่านี้ไม่เพียงพอกับความต้องการโดยเฉพาะสำหรับประชาชนที่ยากจนในชนบท แนวพระราชดำริและพระราชกรณียกิจในด้านการจัดการทรัพยากรประมง มีดังต่อไปนี้
1) โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา
เบื้องหลังแนวต้นไม้ในรั้วสูงโปร่งสีน้ำเงิน นอกเหนือจากที่เราชาวไทยทราบกันดีว่า สถานที่แห่งนี้คือที่ประทับส่วนพระ องค์ขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแล้ว เนื้อที่ส่วนหนึ่งภายในยังแบ่งสันปันส่วนให้กับผืนนา แปลงผัก ต้นไม้ บ่อเลี้ยงปลา โรงโคนม และอาคารโรงเรือนหลายหลัง ที่นี่มีโครงการส่วนพระองค์มากกว่า 30 โครงการ ซึ่งถือกำเนิด มาจากพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ด้วยมีพระ- ราชประสงค์จะสร้างที่นี่เป็นสถานีทดลองและศึกษาทางด้านการเกษตรและการเลี้ยงสัตว์ เพื่อหาวิธีแก้ไขปัญหาที่สร้าง ความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกร
กว่าที่เราจะได้เห็นภาพที่สมบูรณ์แบบของทุกโครงการเช่นในวันนี้ โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาใช้เวลาศึกษา และพัฒนาถึง 35 ปี โครงการแรกเริ่มของที่นี้ คือ "การปลูกป่าสาธิต" เป็นป่ายางนาเมื่อปี 2504 และในปีเดียวกัน "โครงการแปลงนาสาธิต" ก็ได้ถือกำเนิดขึ้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้กระทรวง เกษตรและสหกรณ์นำพันธุ์ข้าวต่าง ๆ มาทดลองปลูกในบริเวณสวนจิตรลดา ปัจจุบันแปลงทดลองปลูกข้าวมี 2 แปลง แปลงหนึ่งเป็นข้าวนาสวน คือปลูกข้าวแบบตกกล้าปักดำในพื้นที่ที่มีน้ำขัง ส่วนอีกแปลงเป็นข้าวนาไร่ ปลูกแบบใช้ เมล็ดหยอดหลุมเป็นแนวบนที่ดอนแบบข้าวโพด เมื่อการปลูกข้าวได้ผลดีมาตลอด 10 ปี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงสีข้าวตัวอย่างขึ้นใน "โครงการเพื่อทดลองสีข้าวและเก็บรักษาข้าว" ในปี พ.ศ. 2505 มีโครงการ "โรงเลี้ยงโคนม" โดยเริ่มแรกมีแม่โค 5 ตัวจากรัฐบาลเดนมาร์กส่งมาถวายและพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์อีกสามหมื่น กว่าบาท และราวๆ ปีพ.ศ.2527 มีโครงการ "น้ำผลไม้" เนื่องจากช่วงนั้นราคาของส้มตกมาก และในปีเดียวกันโครงการ ขยายพันธุ์พืชก็เริ่มเกิดขึ้นโครงการนี้เป็นวิทยาการค่อนข้างสมัยใหม่ ทรงมีพระราชดำริให้ทำ "ห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยง เนื้อเยื่อ" เพื่อช่วยให้การขยายพืชพันธุ์ไม้ได้จำนวนมากและรวดเร็วตามความต้องการ
นอกจากนั้นยังมี "โครงการทดลองปลูกพืชโดยไม่ต้องใช้ดิน" ,"โครงการโรงเพาะเห็ด" ในปี พ.ศ.2534 "งานวิจัยและ พัฒนาการปลูกและการผลิตกระดาษสา" ก็เกิดขึ้น และทุก ๆ โครงการจะสำเร็จลุล่วงและเผยแพร่ออกไปทั่วประเทศ ตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่มีพระราชดำริจะบรรเทาความทุกข์ยากของเกษตรกรให้มี ความเป็นอยู่ดีขึ้น
2) งานศึกษาวิจัยด้านการจัดการทรัพยากรประมงน้ำจืด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้มีกิจกรรมการทดลอง ค้นคว้าวิจัยทางด้านการประมง ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่อง มาจากพระราชดำริทั้ง ๖ แห่ง โดยทรงเน้นให้ทำการศึกษาการพัฒนาด้านการประมง ซึ่งมิใช่การศึกษาวิจัยทางด้านวิชาการชั้นสูง แต่ต้องศึกษาในด้านวิชาการที่จะนำผลมา ใช้ในท้องที่และสามารถปฏิบัติได้จริง เป็นสะพานเชื่อมโยงระหว่างการค้นคว้าเชิงวิชาการ ชั้นสูงกับการนำความรู้ที่ค้นพบมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการประกอบอาชีพของประชาชน เพื่อให้เกษตรกรทั่วไปที่ไม่มีความรู้มากนักสามารถนำไปปฏิบัติได้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงห่วงใยถึงการทำประมงของราษฎรและทรง ตระหนักถึงความจำเป็นในการจัดการทรัพยากรประมง จึงโปรดให้มีกิจกรรมการทดลองวิจัยทางด้านการจัดการทรัพยากรประมง ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ โดยให้จัดระเบียบในด้านการบริหารการจับปลา ไม่ให้มีการแก่งแย่งและเอาเปรียบกัน และไม่ทำลายพันธุ์ปลา ทำให้ประชาชน ได้ประโยชน์อย่างยั่งยืน โดยการจัดตั้งเป็นกลุ่มและให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการ (สำนักงาน กปร., ๒๕๓๑: ๕๒ )
3) งานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรประมง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระราชหฤทัยในด้านการจัดการทรัพยากรประมง โดยทรงมุ่งมั่นในงานด้านการฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรประมงควบคู่ไปกับ โครงการพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริซึ่งกระจายครอบคลุมพื้น ที่อย่างกว้างขวางทั่วประเทศ เช่น โครงการส่งเสริมการเลี้ยงปลาในศูนย์ศึกษาการ พัฒนาปลวกแดง จังหวัดระยอง - ชลบุรี (ทบวงมหาวิทยาลัย, ๒๕๔๐: ๑๐๑-๒) ด้วยการสงวนพันธุ์และเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ พร้อมเร่งรัดปล่อยพันธุ์ปลาชนิดต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปลาโตเร็วที่เหมาะสมในแต่ละท้องที่ลงในแหล่งน้ำต่างๆ เพื่อให้มีสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ เป็นแหล่งอาหารโปรตีนของประชาชนไว้บริโภคตลอดไป ในกรณีที่ปลาบางชนิดซึ่งเป็นปลาที่หายากและมีแนวโน้มว่าจะมีจำนวนลดน้อยลง จนอาจสูญพันธุ์ได้ เช่นปลาบึก ซึ่งเป็นปลาในสกุล Catfish ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และมีอยู่แต่เฉพาะในแม่น้ำโขงเท่านั้น พระองค์ก็ทรงห่วงใยและทรงให้ทำการค้น คว้าหาวิธีการที่จะอนุรักษ์พันธุ์ปลาชนิดนี้ไว้ให้ได้ พร้อมทั้งทรงให้กำลังใจแก่ผู้ค้น คว้าตลอดเวลา จนในที่สุดก็สามารถผสมเทียมพันธุ์ปลาชนิดนี้ได้สำเร็จ (สำนักงาน กปร., ๒๕๓๑: ๕๒)
4) การจัดการทรัพยากรประมงที่เกี่ยวกับการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ได้ทรงมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำการศึกษาวิจัยตามแนวพระราชดำริ เพื่อหาแนวทางการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำอย่างยั่งยืน รวมทั้งการใช้ประโยชน์ทรัพยากรชายฝั่ง แบบอเนกประสงค์และเกื้อกูลกัน ณ "ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน" จังหวัดจันทบุรี โดยได้มีการพัฒนาพื้นที่ป่าชายเลนเสื่อมโทรมเป็นพื้นที่เพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำ แบบพัฒนา ผสมผสานกับการอนุรักษ์และปลูกป่าชายเลนทดแทนเพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากร อย่างยั่งยืน
๕) กังหันน้ำชัยพัฒนา ในปัจจุบัน สภาพมลภาวะทางน้ำมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องใช้เครื่องกลเติมอากาศเพิ่มออกซิเจนเพื่อการบำบัดน้ำเสีย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระราชหฤทัยเกี่ยวกับอุปกรณ์การเติมอากาศ และทรงค้นคิดทฤษฎีบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีการเติมอากาศ โดยใช้วิธีทำให้อากาศสามารถละลายลงไปในน้ำเพื่อเร่งการเจริญเติบโต และการเพาะตัวอย่างรวดเร็วของแบคทีเรียจนมีจำนวนมากพอที่จะทำลาย สิ่งสกปรกในน้ำให้หมดสิ้นไปโดยเร็ว ตามแนวทฤษฎีการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ "กังหันน้ำชัยพัฒนา" ซึ่งเป็นรูปแบบสิ่งประดิษฐ์ที่เรียบง่าย ประหยัด เพื่อใช้ในการบำบัดน้ำเสียที่เกิดจากแหล่งชุมชนและแหล่งอุตสาหกรรม และได้มีการนำไปใช้งานทั่วประเทศ (สำนักงานคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ, ๒๕๓๙: ๒๑๘-๙)
กว่าที่เราจะได้เห็นภาพที่สมบูรณ์แบบของทุกโครงการเช่นในวันนี้ โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาใช้เวลาศึกษา และพัฒนาถึง 35 ปี โครงการแรกเริ่มของที่นี้ คือ "การปลูกป่าสาธิต" เป็นป่ายางนาเมื่อปี 2504 และในปีเดียวกัน "โครงการแปลงนาสาธิต" ก็ได้ถือกำเนิดขึ้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้กระทรวง เกษตรและสหกรณ์นำพันธุ์ข้าวต่าง ๆ มาทดลองปลูกในบริเวณสวนจิตรลดา ปัจจุบันแปลงทดลองปลูกข้าวมี 2 แปลง แปลงหนึ่งเป็นข้าวนาสวน คือปลูกข้าวแบบตกกล้าปักดำในพื้นที่ที่มีน้ำขัง ส่วนอีกแปลงเป็นข้าวนาไร่ ปลูกแบบใช้ เมล็ดหยอดหลุมเป็นแนวบนที่ดอนแบบข้าวโพด เมื่อการปลูกข้าวได้ผลดีมาตลอด 10 ปี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงสีข้าวตัวอย่างขึ้นใน "โครงการเพื่อทดลองสีข้าวและเก็บรักษาข้าว" ในปี พ.ศ. 2505 มีโครงการ "โรงเลี้ยงโคนม" โดยเริ่มแรกมีแม่โค 5 ตัวจากรัฐบาลเดนมาร์กส่งมาถวายและพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์อีกสามหมื่น กว่าบาท และราวๆ ปีพ.ศ.2527 มีโครงการ "น้ำผลไม้" เนื่องจากช่วงนั้นราคาของส้มตกมาก และในปีเดียวกันโครงการ ขยายพันธุ์พืชก็เริ่มเกิดขึ้นโครงการนี้เป็นวิทยาการค่อนข้างสมัยใหม่ ทรงมีพระราชดำริให้ทำ "ห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยง เนื้อเยื่อ" เพื่อช่วยให้การขยายพืชพันธุ์ไม้ได้จำนวนมากและรวดเร็วตามความต้องการ
นอกจากนั้นยังมี "โครงการทดลองปลูกพืชโดยไม่ต้องใช้ดิน" ,"โครงการโรงเพาะเห็ด" ในปี พ.ศ.2534 "งานวิจัยและ พัฒนาการปลูกและการผลิตกระดาษสา" ก็เกิดขึ้น และทุก ๆ โครงการจะสำเร็จลุล่วงและเผยแพร่ออกไปทั่วประเทศ ตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่มีพระราชดำริจะบรรเทาความทุกข์ยากของเกษตรกรให้มี ความเป็นอยู่ดีขึ้น
2) งานศึกษาวิจัยด้านการจัดการทรัพยากรประมงน้ำจืด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้มีกิจกรรมการทดลอง ค้นคว้าวิจัยทางด้านการประมง ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่อง มาจากพระราชดำริทั้ง ๖ แห่ง โดยทรงเน้นให้ทำการศึกษาการพัฒนาด้านการประมง ซึ่งมิใช่การศึกษาวิจัยทางด้านวิชาการชั้นสูง แต่ต้องศึกษาในด้านวิชาการที่จะนำผลมา ใช้ในท้องที่และสามารถปฏิบัติได้จริง เป็นสะพานเชื่อมโยงระหว่างการค้นคว้าเชิงวิชาการ ชั้นสูงกับการนำความรู้ที่ค้นพบมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการประกอบอาชีพของประชาชน เพื่อให้เกษตรกรทั่วไปที่ไม่มีความรู้มากนักสามารถนำไปปฏิบัติได้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงห่วงใยถึงการทำประมงของราษฎรและทรง ตระหนักถึงความจำเป็นในการจัดการทรัพยากรประมง จึงโปรดให้มีกิจกรรมการทดลองวิจัยทางด้านการจัดการทรัพยากรประมง ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ โดยให้จัดระเบียบในด้านการบริหารการจับปลา ไม่ให้มีการแก่งแย่งและเอาเปรียบกัน และไม่ทำลายพันธุ์ปลา ทำให้ประชาชน ได้ประโยชน์อย่างยั่งยืน โดยการจัดตั้งเป็นกลุ่มและให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการ (สำนักงาน กปร., ๒๕๓๑: ๕๒ )
3) งานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรประมง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระราชหฤทัยในด้านการจัดการทรัพยากรประมง โดยทรงมุ่งมั่นในงานด้านการฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรประมงควบคู่ไปกับ โครงการพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริซึ่งกระจายครอบคลุมพื้น ที่อย่างกว้างขวางทั่วประเทศ เช่น โครงการส่งเสริมการเลี้ยงปลาในศูนย์ศึกษาการ พัฒนาปลวกแดง จังหวัดระยอง - ชลบุรี (ทบวงมหาวิทยาลัย, ๒๕๔๐: ๑๐๑-๒) ด้วยการสงวนพันธุ์และเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ พร้อมเร่งรัดปล่อยพันธุ์ปลาชนิดต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปลาโตเร็วที่เหมาะสมในแต่ละท้องที่ลงในแหล่งน้ำต่างๆ เพื่อให้มีสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ เป็นแหล่งอาหารโปรตีนของประชาชนไว้บริโภคตลอดไป ในกรณีที่ปลาบางชนิดซึ่งเป็นปลาที่หายากและมีแนวโน้มว่าจะมีจำนวนลดน้อยลง จนอาจสูญพันธุ์ได้ เช่นปลาบึก ซึ่งเป็นปลาในสกุล Catfish ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และมีอยู่แต่เฉพาะในแม่น้ำโขงเท่านั้น พระองค์ก็ทรงห่วงใยและทรงให้ทำการค้น คว้าหาวิธีการที่จะอนุรักษ์พันธุ์ปลาชนิดนี้ไว้ให้ได้ พร้อมทั้งทรงให้กำลังใจแก่ผู้ค้น คว้าตลอดเวลา จนในที่สุดก็สามารถผสมเทียมพันธุ์ปลาชนิดนี้ได้สำเร็จ (สำนักงาน กปร., ๒๕๓๑: ๕๒)
4) การจัดการทรัพยากรประมงที่เกี่ยวกับการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ได้ทรงมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำการศึกษาวิจัยตามแนวพระราชดำริ เพื่อหาแนวทางการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำอย่างยั่งยืน รวมทั้งการใช้ประโยชน์ทรัพยากรชายฝั่ง แบบอเนกประสงค์และเกื้อกูลกัน ณ "ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน" จังหวัดจันทบุรี โดยได้มีการพัฒนาพื้นที่ป่าชายเลนเสื่อมโทรมเป็นพื้นที่เพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำ แบบพัฒนา ผสมผสานกับการอนุรักษ์และปลูกป่าชายเลนทดแทนเพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากร อย่างยั่งยืน
๕) กังหันน้ำชัยพัฒนา ในปัจจุบัน สภาพมลภาวะทางน้ำมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องใช้เครื่องกลเติมอากาศเพิ่มออกซิเจนเพื่อการบำบัดน้ำเสีย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระราชหฤทัยเกี่ยวกับอุปกรณ์การเติมอากาศ และทรงค้นคิดทฤษฎีบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีการเติมอากาศ โดยใช้วิธีทำให้อากาศสามารถละลายลงไปในน้ำเพื่อเร่งการเจริญเติบโต และการเพาะตัวอย่างรวดเร็วของแบคทีเรียจนมีจำนวนมากพอที่จะทำลาย สิ่งสกปรกในน้ำให้หมดสิ้นไปโดยเร็ว ตามแนวทฤษฎีการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ "กังหันน้ำชัยพัฒนา" ซึ่งเป็นรูปแบบสิ่งประดิษฐ์ที่เรียบง่าย ประหยัด เพื่อใช้ในการบำบัดน้ำเสียที่เกิดจากแหล่งชุมชนและแหล่งอุตสาหกรรม และได้มีการนำไปใช้งานทั่วประเทศ (สำนักงานคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ, ๒๕๓๙: ๒๑๘-๙)
วันเสาร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2551
การประดิษฐ์ดอกไม้จากผ้าใยบัว
ปัจจุบันกลุ่มสตรีแม่บ้านถือได้ว่าเป็นกลุ่มที่มีบทบาทสำคัญของหมู่บ้านในการที่จะพัฒนาด้านการอาชีพที่จะสามารถนำรายได้มาเสริมให้กับครอบครัว กลุ่มสตรีแม่บ้านถือได้ว่าเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถที่จะทำประโยชน์ให้ชุมชนขาดแต่เพียงโอกาสที่จะได้ฝึกฝนในอาชีพที่จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ฉะนั้นทางกลุ่มสตรีแม่บ้านจึงได้คิดริเริ่มโครงการฝึกอบรมการประดิษฐ์ดอกไม้จากผ้าใยบัวขึ้นมา
การทำกระดิ่งวัว
ในอดีตที่ผ่านมาการทำกระดึงวัวนั้นทำไว้เฉพาะใช้งานในครัวเรือนสำหรับครอบครัวที่มีอาชีพเลี้ยงโค เท่านั้น แต่ในปัจจุบันอาชีพการเลี้ยงโคมีเพิ่มมากขึ้นความต้องการในการใช้กระดิ่งวัวจึงมีความต้องการเพิ่มมากขึ้น
ฉะนั้นการจัดให้มีการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มศักยภาพกลุ่มอาชีพภูมิปัญญาชาวบ้าน(การทำกระดึงวัว)จะเป็นประโยชน์กับประชาชนในตำบลเขาชะงุ้มเพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ต่อครัวเรือน ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และยังเป็นการส่งเสริมและรักษาภูมิปัญญาชาวบ้านที่เปรียบเสมือนเอกลักษณ์ประจำท้องถิ่นให้ดำรงคงอยู่คู่กับชุมชนตลอดไป
ฉะนั้นการจัดให้มีการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มศักยภาพกลุ่มอาชีพภูมิปัญญาชาวบ้าน(การทำกระดึงวัว)จะเป็นประโยชน์กับประชาชนในตำบลเขาชะงุ้มเพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ต่อครัวเรือน ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และยังเป็นการส่งเสริมและรักษาภูมิปัญญาชาวบ้านที่เปรียบเสมือนเอกลักษณ์ประจำท้องถิ่นให้ดำรงคงอยู่คู่กับชุมชนตลอดไป
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)